หูอื้อ...ทำอย่างไรดี

หลายคนมาปรึกษาว่า
ขึ้น-ลงเครื่องบิน ปวดหู หูอื้อ...ทำอย่างไรดี


หรือบางทีก็บ่นว่าหูอื้อ เป็นเพราะอะไร
ภูนาริมีคำตอบค่ะ

โดยปกติร่างกายเรามีท่อยูสเตเชี่ยน
ซึ่งเป็นท่อที่ช่วย
ปรับความดันของหูชั้นกลาง
ให้เท่ากับบรรยากาศภายนอก
เมื่อใดที่ท่อนี้ทำงานผิดปกติไป
จะทำให้เกิดอาการ
หูอื้อ ปวดหู มีเสียงดังในหู
หรือเวียนศีรษะ บ้านหมุนได้ 

ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
ที่เราพบได้บ่อยคือ
เวลาขึ้นหรือลงลิฟต์เร็วๆ
หรือเครื่องบินขึ้นหรือลงเร็วๆ
จะมีอาการหูอื้อ ปวด

ดังนั้น เราจะทำอย่างไรดี
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาปวดหู
เวลาเครื่องบินขึ้นหรือลง
มีคำแนะนำดังนี้ค่ะ
1.เวลาเดินทาง
ควรป้องกันตนเองไม่ให้เป็นหวัด
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้
ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
เช่น เครียด นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
การสัมผัสอากาศที่เย็นมากเกินไป
ขณะนอนเปิดแอร์หรือพัดลมเป่าจ่อ
ไม่ได้ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเพียงพอ
การดื่มน้ำแข็ง น้ำเย็นจัด
หรืออาบน้ำเย็น ตากฝน
หรือสัมผัสอากาศ
ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
จากร้อนเป็นเย็นจากเย็นเป็นร้อน
หรือมีคนรอบข้างที่ไม่สบายคอยแพร่เชื้อให้
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูก
หรือไซนัสอักเสบเรื้อรัง
ควรป้องกันไม่ให้อาการทางจมูก
หรือไซนัสกำเริบ
โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
เช่น ความเครียด
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
อารมณ์เศร้า วิตกกังวล เสียใจ 
ฝุ่นควัน  อากาศที่เปลี่ยนแปลง
การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
หรือเป็นหวัด
เนื่องจากถ้ามีการอักเสบในโพรงจมูก
จะส่งผลถึงรูเปิดของท่อยูสเตเชี่ยน
ซึ่งอยู่ที่โพรงหลังจมูก
ทำให้การทำหน้าที่ของ
ท่อยูสเตเชี่ยนผิดปกติไป
เกิดปัญหาของหูดังกล่าว
 
ถ้ามีอาการทางจมูก เช่น คัน จาม
คัดจมูก น้ำมูกไหล
และจำเป็นต้องขึ้นเครื่องบิน
ควรใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการทางจมูก
เช่น รับประทานยาแก้แพ้ ยาหดหลอดเลือด
หรือใช้ยาพ่นจมูก อาจร่วมกับการล้างจมูก
หรือการสูดไอน้ำร้อน
เพื่อทำให้การอักเสบภายในจมูกลดน้อยลง
ซึ่งจะส่งผลให้เยื่อบุรอบรูเปิดท่อยูสเตเชี่ยนยุบบวมลง
ทำให้ท่อยูสเตเชี่ยนกลับมาทำงานปกติได้เร็วขึ้น
 
ควรปรึกษาแพทย์ในการใช้ยา
แพทย์อาจจะให้รับประทานยาหดหลอดเลือด
oral decongestant
เช่น pseudoephedrine
ก่อนเครื่องบินขึ้นหรือลง ประมาณครึ่งชั่วโมง
หรือแพทย์อาจจะให้พ่นยาหดหลอดเลือด
topical decongestant
เช่น ephedrine, oxymetazoline
ก่อนเครื่องบินขึ้นหรือลง ประมาณ 5 นาที
ตามแผนการรักษา

3.นอกจากนั้น ควรทำให้ท่อยูสเตเชี่ยน
ทำงานเปิด/ ปิดอยู่ตลอด
ระหว่างเครื่องบินขึ้นหรือลง
ด้วยวิธีการเคี้ยวหมากฝรั่ง
เพื่อให้มีการกลืนน้ำลายบ่อย ๆ
ขณะกลืนน้ำลาย
จะมีการเปิดและปิดของท่อยูสเตเชี่ยน
หรือบีบจมูก 2 ข้างและกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง
ท่อยูสเตเชี่ยนจะปิด
และเอามือที่บีบจมูกออกและกลืนน้ำลาย 1 ครั้ง
ท่อยูสเตเซียนจะเปิดและปิด
ขณะที่เป็นหวัดหรือไซนัสอักเสบ
มีการติดเชื้อในจมูก
ไม่ควรบีบจมูก และ
เป่าลมให้เข้ารูเปิดของท่อยูสเตเชี่ยน
พราะจะทำให้เชื้อโรคในจมูก
เข้าไปสู่หูชั้นกลางได้
4.ถ้าได้ป้องกันอาการของหู
ก่อนขึ้น/ลงเครื่องบินดังข้อ 2
แล้วยังมีอาการทางหูอยู่
ควรปรึกษาแพทย์
อาจจำเป็นต้องพ่นหรือหยอดยาหดหลอดเลือด
เข้าไปในจมูกอีกทุก 10 -15 นาที
และทำให้ท่อยูสเตเชี่ยนทำงานเปิด/ปิดอยู่ตลอด
ดังอธิบายไว้แล้วในข้อ 3
ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาเรื่องหูเวลาขึ้น/ลงเครื่องบิน
ควรพกยาหดหลอดเลือดชนิดพ่น
และชนิดรับประทานไว้ด้วยเสมอ
เท่านี้....การเดินทางก็จะราบรื่น
ปราศจากอาการของหูที่จะรบกวนอีกต่อไป

ที่มา ... แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น: