น้ำท่วมโรคที่มาพร้อมกับน้ำ

คำแนะนำดีๆสำหรับยามนี้โดยคุณหมอศิริราช
ช่วงน้ำท่วม โรคภัยที่มาพร้อมกับน้ำ

ภูนาริขอหยิบยกบทความดีๆ
"โรคภัยที่มากับน้ำท่วม"
วิธีการป้องกันรักษาให้คุณๆได้อ่านกันนะคะ 
 
โรคน้ำกัดเท้าหรือ ฮ่องกงฟุต
 
จะมีอาการคันซึ่งเกิดจากเชื้อราที่เท้า
เมื่อเท้าเปียก ๆ ชื้น ๆ จะเป็นบ่อเกิดของเชื้อรา
หากในช่วงน้ำท่วม มักเป็นจากเท้าที่เปียกๆ ชื้นๆ บ่อยๆ 
แล้วไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี
คันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุย ๆ 
เป็นผื่นที่เท้า ที่พบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว 
แต่ก็สามารถลุกลามไปถึงฝ่าเท้าและเล็บได้
รักษาโรคราที่เท้า
ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง 
ใช้ครีมรักษาเชื้อราทา
ถ้าจำเป็นจะต้องเดินลุยน้ำหรือแช่น้ำควรสวมรองเท้าบู๊ท
 
โรคอุจจาระร่วง  
ขณะเกิดภาวะน้ำท่วมเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
สัมผัสเชื้อจากการกินอาหารหรือ
ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
จากสิ่งปฏิกูลที่มาจาก น้ำท่วม 
หรือจากการใช้น้ำที่ไม่สะอาดชำระล้างภาชนะใส่อาหาร
เช่น ถ้วย ชาม ช้อน ที่ปนเปื้อนปัสสาวะ อุจจาระ 
ขยะมูลฝอยที่บูดเน่า 
หรือจากการไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมหรือปรุงอาหาร 
จะทำให้เกิดโรคติดต่อทางเดินอาหารต่าง ๆ ได้
การป้องกัน
1. ดื่มน้ำสะอาด น้ำบรรจุขวด 
ถ้าจำเป็นต้องดื่มน้ำที่ท่วมควรต้มให้สุกก่อน
2. ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
3. ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาใช้
4. กินอาหารที่ทำสุกใหม่ๆ ที่ไม่มีแมลงวันตอม
5. รักษาความสะอาดในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย
การกำจัดอุจจาระ ปัสสาวะที่ถูกต้อง
6. หลีกเลี่ยงการถ่ายอุจจาระในน้ำที่ท่วม
เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้
ในภาวะน้ำท่วมสูงควรถ่ายใส่ถุงดำ
แล้วโรยปูนขาวปิดปากถุงให้แน่น
รอเรือเก็บขยะมาเก็บ
7. ไม่ควรกินยาหยุดถ่ายเองควรปรึกษาแพทย์

โรคตาแดง 
 
สาเหตุ
1. ใช้มือสกปรกที่อาจมีเชื้อโรคขยี้ตา
2. ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ที่เป็นโรคหรือเล่นกับผู้ป่วย
3. แมลงวันหรือแมงหวี่ตอมตา 
หรือฝุ่นละอองเข้าตามาก ๆ จนตาอักเสบ
4. อาบน้ำในคลองสกปรก หรือที่มีตาแดงระบาด
การป้องกัน
ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคตาแดง   
ล้างหน้าและมือให้สะอาดอยู่เสมอ    
ไม่ควรเอามือขยี้ตา
อาการ 
เคืองตา น้ำตาไหล มีขี้ตามาก 
อาการจะมีประมาณ 10 วัน
การรักษา
พักสายตาบ่อย ๆ   
ประคบตาด้วยผ้าเย็น 
และเช็ดตาด้วยสำลีชุบน้ำอุ่น

โรคฉี่หนู Leptospirosis
เชื้อโรคในตัวหนูจะออกมากับฉี่ของหนู 
และปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำ 
ซึ่งเชื้อที่อยู่ตามแหล่งน้ำ
สามารถเข้าทางผิวหนังของผู้ป่วยที่มีบาดแผล 
หรือรอยถลอกที่ผิวหนัง 
และหากบริเวณบาดแผลไปสัมผัสกับน้ำที่มีเชื้อโรคฉี่หนู 
เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ตัวผู้ป่วย และก่อโรคได้   
หลังจากได้รับเชื้อ 
โดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรค
- ปวดศีรษะทันที มักจะปวดบริเวณหน้าผากหรือหลังตา 
บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง - ปวดกล้ามเนื้อมาก    
โดยเฉพาะบริเวณ ขา น่อง เวลากด หรือจับจะปวดมาก  
-ไข้สูงร่วมกับหนาวสั่น
อาการต่าง ๆ อาจอยู่ได้ 4-7 วัน
ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง 
การตรวจร่างกายในระยะนี้อาจพบว่าผู้ป่วยมีอาการตาแดง
การป้องกัน   
- หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ แช่หรือลุยในน้ำ
 ที่อาจปนเปื้อนเชื้อปัสสาวะของสัตว์นำโรค 
ถ้าจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ท
ล้างเท้าหรือส่วนที่แช่อยู่ในน้ำเมื่อขึ้นจากการแช่น้ำทุกครั้ง
 และรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที- เมื่อมีอาการน่าสงสัย  
เช่น มีไข้ ปวดศรีษะรุนแรง
ปวดกล้ามเนื้อน่อง โคนขา หลัง
หรือมีอาการตาแดง ให้รีบพบแพทย์ด่วน
การรักษา ก่อนอื่นผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
และยาที่มักจะได้รับ คือ ยาปฏิชีวนะ
(ห้ามซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด
เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต)

โรคเครียด

ภาวะเช่นนี้ 
ทุกคนที่ประสบภัยน้ำท่วม 
หรือกำลังอยู่ในที่ที่มีความเสี่ยงที่อาจถูกน้ำท่วม
ก็จะเกิดภาวะเครียดเป็นธรรมดามากหรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย 
เช่น ปัจจัยส่วนตัวของผู้นั้นเองว่ามีความมั่นคงทางอารมณ์มากน้อยเพียงใด 
แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีเพียงใด 
และอีกปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของความ เครียด 
คือขนาดของความเสียหาย หากขนาดของความเสียหายมาก 
ก็มีโอกาสที่จะมีความเครียดรุนแรงได้ หากมีอาการเครียดมากจน 
ทำให้การทำกิจวัตรประจำวันเสียไป 
นอนไม่หลับ ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ 
และแพทย์อาจให้ยาคลายเครียดช่วย
ในรายที่มีอาการมาก จนรบกวนการดำรงชีวิตประจำวัน 
และในรายที่อาการมาก อาจต้องพบจิตแพทย์  
ข้อมูล ข้างต้นที่ได้นำเสนอไปนั้น 
หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ไม่มากก็น้อย
อย่างไรก็ตาม คุณหมอและกองบรรณาธิการวารสารศิริราชประชาสัมพันธ์ 
ขอร่วมเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัยทุกท่าน
ให้มีกำลังใจฟันฝ่าอุปสรรคนี้ไป อย่างมั่นคง 

Info: Siriraj E-Public Libray
ดูแลรักษาสุขภาพท่านด้วยนะคะ 
ด้วยความห่วงใย
ภูนาริ108



 
 

ไม่มีความคิดเห็น: